1. เครื่องทำความเย็นระบบการดูดซึมลิเธียมโบรไมด์โดยใช้ไอน้ำ เครื่องทำความเย็นระบบการดูดซึมนี้เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่มีความนิยมมากที่สุดของเรา ซึ่งชุดพลังงานที่มีประสิทธิภาพจะใช้ความร้อนเหลือทิ้งในการผลิตน้ำเย็น มันจะให้อุณหภูมิน้ำที่อยู่ในช่วง5องศาเซลเซียส ถึง7องศาเซลเซียส ซึ่งเหมาะสำหรับใช้ในระบบเครื่องปรับอากาศส่วนกลางหรือกระบวนการในอุตสาหกรรม
    1. เครื่องทำความเย็นระบบการดูดซึมลิเธียมโบรไมด์โดยใช้น้ำร้อนเครื่องทำความเย็นระบบการดูดซึมแบบสองชั้นที่ใช้พลังงานจากน้ำร้อนนี้จะใช้ลิเธียมโบรไมด์เป็นสารดูดซับและน้ำที่ใช้เป็นสารทำความเย็น ข้อกำหนดมาตรฐานในช่วงอุณหภูมิของน้ำร้อนคือ90-130องศาเซลเซียส อุณหภูมิที่อยู่นอกเหนือข้อกำหนดซึ่งไม่ได้มาตรฐานจะใช้ได้กับความต้องการอุณหภูมิพิเศษ
    1. ปั๊มความร้อนระบบการดูดซึมลิเธียมโบรไมด์เพื่อที่จะนำพลังงานความร้อนส่วนเกินมาใช้เป็นความร้อนที่ใช้งานได้ เราได้พัฒนาปั๊มความร้อนระบบการดูดซึมลิเธียมโบรไมด์ ซึ่งพบว่านำมาใช้กันอย่างกว้างขวางในปิโตรเลียม, สิ่งทอ, เบียร์, เหล็กและอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

ผลิตภัณฑ์ประหยัดพลังงาน

คำว่าลิเธียมโบรไมด์เป็นส่วนหนึ่งของคำศัพท์อุปกรณ์เครื่องทำความเย็นซึ่งมีมานานเท่าที่ได้มีระบบการดูดซึมในเครื่องทำความเย็น ในความเป็นจริงของชื่อนี้แล้ว ชุดการดูดซึมลิเธียมโบรไมด์ได้ใช้ลิเธียมโบรไมด์ดูดซึมไอระเหยสารทำความเย็นและผลิตทั้งน้ำเย็นสำหรับการใช้ทำความเย็นหรือน้ำร้อนสำหรับการให้ความร้อน

แหล่งความร้อนที่จำเป็นในกำลังผลิตของวงจรทำความเย็นระบบการดูดซึม มาจากไอน้ำ, น้ำร้อน และก๊าซไอเสีย หรือจะมาจากการเผาไหม้โดยตรงของน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติ ซึ่งชุดนี้จะถูกใช้อย่างแพร่หลายในระบบเครื่องปรับอากาศ, กระบวนการอุตสาหกรรม หรือระบบเขตทำความร้อน

สำหรับผู้ที่กำลังพิจารณาจะเปลี่ยนเครื่องใหม่แทนที่เครื่องทำความเย็นที่ชำรุดด้วยรุ่นที่มีประสิทธิภาพสูงของเรา ซึ่งนี้คือสิ่งที่คุณอาจจะสนใจ

หลักการทำงาน

แผงผังงาน:
1. น้ำร้อนขาออก
2. เครื่องยนต์ควบคุมสินค้า
3. น้ำร้อนขาเข้า
4. เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
5. คอนเดนเซอร์
6. จัดจำหน่ายโดยลูกค้า
7. เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน
8. น้ำหล่อเย็นขาออก
9. เช็ควาล์ว
10. น้ำเย็นขาออก
11.สารดูดซับ
12. เครื่องระเหย
13.สารดูดซับ
14. น้ำเย็นขาเข้า
15. บายพาสวาล์ว
16. วาล์วเก็บตัวอย่าง
17. ตัวจ่าย
18. ปั๊มสูญญากาศ
19. ปั๊มสารละลาย
20. เครื่องทำน้ำเย็น
21. ปั๊มสารทำความเย็น
22. น้ำหล่อเย็นขาเข้า
แผงผังงาน :
1. ท่อตกผลึกอัตโนมัติ(Automatic De-crystallization Pipe)
2. ชุดฟอกล้างอัตโนมัติ
3. กับดับน้ำมัน
การเลือกสี :
1. น้ำร้อน(อุณหภูมิสูง)
2. น้ำร้อน(อุณหภูมิต่ำ)
3. น้ำหล่อเย็น
4. น้ำเย็น
5. สารละลายแก่
6. สารละลายอ่อน
7. น้ำทำความเย็น
8. ไอทำความเย็น
การเลือกหมายเลขรุ่น:
1. อุณหภูมิน้ำเย็นขาเข้า (I)
2. อุณหภูมิน้ำเย็นขาออก (I,C,A)
3. อุณหภูมิน้ำหล่อเย็นขาเข้า(I,C,A)
4. อุณหภูมิน้ำร้อนขาเข้า(I,C,A)
5. อุณหภูมิน้ำร้อนขาออก(I)
6. อุณหภูมิพ่นสารละลาย(I,C)
7. อุณหภูมิสารละลายแก่ขาออก(I,C,A)
8. อุณหภูมิการควบแน่น(I,C,A)
9. อุณหภูมิการระเหย(I,A)
10. อุณหภูมิการตกผลึก(I,A)
11. การไหลเวียนของน้ำเย็น
12. แรงดันสูญญากาศ
13.(C)- ตัวควบคุม
14.(A)- สัญญาณเตือนภัย
15.(I)-สิ่งบ่งชี้

ปั๊มจะดึงดูดสารละลายเจือจางจากสารดูดซับ สารละลายจะถูกให้ความร้อนเล็กน้อยในเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนก่อนที่จะเข้าสู่เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เมื่อเข้าไปในเครื่องกำเนิดไฟฟ้า น้ำร้อนจะถูกใช้เพื่อเพิ่มความร้อนให้แก่สารละลายที่เป็นสารทำความเย็นในเครื่องฉีดสารละลาย ซึ่งสารละลายที่ได้จะกลายเป็นสารละลายที่ข้นกว่าก่อนหน้านี้

สารละลายที่เข้มข้นนี้จะไหลผ่านท่อแลกเปลี่ยนความร้อน ซึ่งจะถ่ายเทความร้อนของมันไปสู่สารละลายเจือจางเย็นที่ไหลผ่านท่อ หลังจากการถ่ายเทความร้อน สารละลายที่ข้นเย็นจะกลับเข้าสู่สารดูดซับ สารทำความเย็นที่ระเหยจะเคลื่อนที่ผ่านคอนเดนเซอร์ซึ่งมันจะควบแน่นโดยน้ำเย็นที่ไหลเข้ามาภายในแกนคอนเดนเซอร์ หลังจากการควบแน่น ความร้อนส่วนเกินจะถูกปล่อยออกมาสู่ชั้นบรรยากาศ

สารทำความเย็นเหลวที่เย็นนั้นจะเข้าสู่เครื่องระเหยชุดแบบท่อรูปตัวยู(U-shaped tube) เนื่องจากภายในเครื่องระเหยมีความดันต่ำ สารทำความเย็นเหลวจะระเหยตามธรรมชาติและเปลี่ยนเป็นก๊าซแฟลช(flash-gas) ในขณะเดียวกันเนื่องจากการสูญเสียความร้อนซึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการกลายเป็นไอ จะได้ส่วนที่เหลือจากการระเหยอยู่ในรูปสารละลายอิ่มตัว ซึ่งสารละลายอิ่มตัวนี้จะค่อยๆระบายเข้ามาในถาดหยดในเครื่องระเหย ณที่จุดนี้ปั๊มอื่นๆจะดึงสารละลายและพ่นมันไปสู่ด้านบนผิวท่อถ่านเทความร้อนของเครื่องระเหย

สารละลายที่ดูดซับความร้อนเพียงพอจากน้ำที่ไหลผ่านท่อถ่ายเทความร้อน มันจะเดือดและระเหย โดยไอระเหยที่เกิดขึ้นจะมาพร้อมกับก๊าซแฟลช(flash-gas)ซึ่งจะถูกดูดซับโดยสารละลายเข้มข้นในสารดูดซับ

น้ำหลังจากถ่ายเทความร้อนแล้ว จะกลายเป็นน้ำที่เย็นขึ้นและระบายออกจากชุดทำความเย็นระบบการดูดซึม ซึ่งมันจะกลับไปยังระบบเครื่องปรับอากาศเพื่อใช้เป็นน้ำที่ช่วยลดความร้อน(water coolant) สารละลายที่เข้นข้นหลังจากดูดซับไอระเหยสารทำความเย็นจะค่อยๆจางลงจนเป็นสารละลายเจือจาง ด้วยวิธีนี้เอง วงจรทำความเย็นระบบการดูดซึมจะสามารถเกิดซ้ำๆด้วยเครื่องระเหยที่จะผลิตน้ำเย็นในอุณหภูมิที่ต้องการอย่างต่อเนื่อง

ข้อดี
1. ตู้เย็นระบบการดูดซึมลิเธียมโบรไมด์นี้ใช้ไฟฟ้าจำนวนน้อยซึ่งนำมาซึ่งการประหยัดต้นทุนไฟฟ้าจำนวนมาก
2. วงจรทั้งหมดดำเนินงานอย่างเสถียรตลอดทั้งปี
3. มีประสิทธิภาพสูงและช่วยลดการใช้พลังงาน
4. ระบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะช่วยลดการปล่อยก๊าซที่เป็นอันตราย มันจะไม่ใช้ฟรีออนเป็นสารทำความเย็นซึ่งอาจทำอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยและสุขภาพของเรา
5. บำรุงรักษาง่าย